สิทธิรับเงินชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง

24 เม.ย. 2563 09:28 น.

 

สิทธิรับเงินชดเชย..เมื่อถูกเลิกจ้าง

https://www.youtube.com/watch?v=TBZax676c7A

 

 

           ลูกจ้าง คือ ผู้ที่ตกลงทำงานให้นายจ้างและรับค่าจ้างไม่ว่าจะทำสัญญาจ้างหรือตกลงด้วยวาจาก็ได้
           ลูกจ้าง หรือ มนุษย์เงินเดือนที่ทำงานรับเงินเดือนจากนายจ้าง ย่อมต้องทำงานหาเพื่อเลี้ยงชีพ เลี้ยงดูครอบครัว หรือ จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ตนเอง แต่หากวันใดวันหนึ่งนายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้างกะทันหัน โดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด สิ่งที่ลูกจ้างควรทราบหลังถูกบอกเลิก นั่นคือ “เงินชดเชย” นั่นเอง
           เงินชดเชย คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
นายจ้างที่กำลังคิดเลิกจ้าง และ ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดใดๆ นั้น ท่านก็ต้องทราบและจะต้องจ่าย “เงินชดเชย” ให้แก่ลูกจ้างต่อเมื่อมีอายุงานตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้
           1. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน
           2. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วัน
           3. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 180 วัน
           4. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 240 วัน
           5. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 10 ปี ขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 300 วัน
           และนายจ้างยังต้องจ่าย เงินชดเชยพิเศษ  ซึ่งหมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะมีเหตุกรณีพิเศษ ดังนี้
           - นายจ้างย้ายสถานประกอบการ มีผลต่อการดำรงชีวิตปกติของลูกจ้างและครอบครัว และต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบหรือ แจ้งน้อยกว่า 30 วัน ลูกจ้างจะได้รับเงินพิเศษ จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน หรือ ถ้าลูกจ้างไม่ต้องการไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง และได้รับเงินชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าค่าชดเชยปกติที่มีสิทธิได้รับ
           - นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะมีเหตุปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย บริการ หรือ เปลี่ยนแปลงเครื่องจักรและเทคโนโลยี โดยไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบ หรือ แจ้งน้อยกว่า 60 วัน ลูกจ้างจะได้รับเงินชดเชยและเงินชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 60 วัน
          
            แต่ลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิรับเงินชดเชย หาก...ทำงานโดยประมาทเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับเสียหายร้ายแรง, ลูกจ้างลาออกเอง, กระทำความผิดอาญา ทุจริต กระทำการโดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหาย, ฝ่าฝืนข้อบังคับ กฎระเบียบของบริษัท หรือ คำสั่งของนายจ้าง และได้รับการเตือนแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว, ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างโครงการที่มีระยะเวลาจ้างตามกำหนดเวลา , ขาดงานติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน โดยไม่มีเหตุสมควร และ ต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด...
          “หากลูกจ้างมิได้ทำความผิดและถูกเลิกจ้าง  นายจ้างฝ่าฝืนไม่จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้าง ในกรณีที่เลิกจ้างโดยไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามกำหนดเวลา นายจ้างมีโทษปรับ หรือ จำคุก หรือ ทั้งจำทั้งปรับนะคะ”