ความเป็นมา
การอำนวยความยุติธรรม การสร้างความเป็นธรรมและความสงบสุขในสังคม เป็นภารกิจหลักที่สำาคักยิ่งของกระทรวงยุติธรรม ที่จะต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนในทุกพื้นที่และทุกระดับ แต่ภารกิจดังกล่าวหากรัฐเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่สามารถบรรลุผลอย่างยั่งยืนได้หัวใจสำคัญของความสำเร็จ ในการดำเนินภารกิจดังกล่าวจึงอยู่ที่คนในชุมชน ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้สัมผัส มีส่วนได้ส่วนเสียกับความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความสงบสุขในชุมชนนั้นๆ ได้มีโอกาสและมีช่องทางที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการแก้ปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง โดยมีโอกาสในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการและร่วมรับประโยชน์จากการแก้ปัญหาร่วมกันในลักษณะของการเป็น "หุ้นส่วน""เครือข่ายยุติธรรมชุมชน" เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของกระทรวงยุติธรรมภายใต้ยุทธศาสตร์"ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม" (Justice for All, All for Justice) อันจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายในการสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับชุมชน ในการอำนวยความยุติธรรม สร้างความเป็นธรรมและความสงบสุขในสังคมร่วมกัน โดยภาครัฐจะส่งเสริมการรวมตัวกันของประชาชนในลักษณะของ"เครือข่าย" เพื่อทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับภาครัฐในการดำาเนินภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชุมชน และจะส่งเสริมให้เครือข่ายมีความเข้มแข็ง สามารถจัดตั้ง "ศูนย์ยุติธรรมชุมชน" ของตนเองขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการร่วมกันสรรหาแนวทางที่จะทำให้ภาครัฐและภาคประชาสังคมร่วมกันสร้าง "สังคมที่ยุติธรรม"กล่าวคือ เป็นสังคมที่ประชาชนได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคภายใต้ กฎหมายอย่างถ้วนทั่ว และเป็นสังคมที่มีความสงบสุข ปราศจากอาชญากรรมอันจะเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน"เครือข่ายยุติธรรมชุมชน" หมายถึง ประชาชน กลุ่ม หรือองค์กรที่มีความสนใจและสมัครใจที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสานความร่วมมือในการป้องกัน เฝ้าระวังปัญหาอาชญากรรม ตลอดจนเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในกิจกรรมต่างๆ ของกระทรวงยุติธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการและเสริมสร้างความยุติธรรมและความสงบสุขในชุมชน
คำนิยาม
เครือข่ายยุติธรรมชุมชน หมายถึง ประชาชน กลุ่ม หรือองค์กรที่มีความสนใจและสมัครใจที่จะแลกเปลี่ยน
ข้อมูลข่าวสาร และประสานความร่วมมือในการป้องกัน เฝ้าระวังปัญหาอาชญากรรม ตลอดจนเข้ามามีส่วน
ร่วมและมีบทบาทในกิจกรรมต่างๆ ของกระทรวงยุติธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการและเสริมสร้างความ
ยุติธรรมและความสงบสุขในชุมชน
สมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชน หมายถึง ประชาชนผู้สนใจในงานเครือข่ายยุติธรรมชุมชนของกระทรวง
ยุติธรรม และได้ผ่านการอบรม "หลักสูตรเครือข่ายยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม" เพื่อเข้าร่วมกับกระทรวง
ยุติธรรม ในฐานะหุ้นส่วนที่จะด าเนินกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความยุติธรรม ความเป็น
ธรรม และความสงบสุขในชุมชน
ผู้ประสานงานยุติธรรมชุมชน หมายถึง สมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชนได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนของ
เครือข่ายยุติธรรมชุมชน ประชาชนในชุมชน ในการประสานงานระหว่างประชาชน ชุมชน และองค์กรต่างๆ
ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในชุมชนและส่งผลให้เกิดความสงบสุขของชุมชน นอกจากนี้ยัง
เป็นผู้บริหารจัดการและดำเนินงานในศูนย์ยุติธรรมชุมชน
คณะกรรมการประจำาศูนย์ยุติธรรมชุมชน หมายถึง สมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชนหรือประชาชนในชุมชน
ได้รับการคัดเลือกให้ทำหน้าที่พิจารณา วินิจฉัย แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในชุมชนในกรณีที่สมาชิกเครือข่าย
ยุติธรรมชุมชน หรือผู้ประสานงานยุติธรรมชุมชนไม่สามารถแก้ไขได้และพิจารณาส่งเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้
ให้สำนักงานยุติธรรมจังหวัด ต่อไปโดยมีผู้ประสานงานยุติธรรมชุมชนเป็นเลขานุการคณะกรรมการประจำศูนย์
ยุติธรรมชุมชน และเป็นฝายธุรการ
ศูนย์ยุติธรรมชุมชน หมายถึง สถานที่ที่อยู่ในชุมชน และสมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ตลอดจนประชาชน
เห็นชอบให้จัดตั้งเป็นศูนย์ยุติธรรมชุมชน เพื่อใช้เป็นสถานที่ดำเนินงานของคณะกรรมการประจำศูนย์ยุติธรรม
ชุมชนหรือด าเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
ศูนย์ประสานงานยุติธรรมชุมชน หมายถึง ศูนย์ที่ทางกระทรวงยุติธรรมจัดตั้งขึ้นอยู่ในสำนักงานยุติธรรม
จังหวัดภายในกลุ่มงานบริการประชาชน โดยให้เป็นกลไกเชื่อมต่อการทำงานระหว่างภาครัฐกับประชาชนใน
รูปแบบของเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ซึ่งศูนย์ประสานงานยุติธรรมชุมชนมีหน้าที่ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา
เครือข่ายยุติธรรมชุมชน จัดวางระบบฐานข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกลไกในชุมชนกับสำนักงาน
ยุติธรรมจังหวัดและกระทรวงยุติธรรม เพื่อทำงานร่วมกันตลอดจนติดตามและรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์