คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

20 มี.ค. 2562 00:10 น.

 

ความเป็นมา กพยจ.

 

กพยจ. คือ กลไกการอำนวยความยุติธรรมและการประสานความร่วมมือในระดับจังหวัดและคุ้มครองสิทธิและให้ความช่วยเหลือประชาชน ผ่านกองทุนยุติธรรม การช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา เป็นต้น

 

 

คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

 

ประวัติความเป็นมา

 

ความหมายตราสัญลักษณ์ 

ตาชั่ง-พระขรรค์ หมายถึง ความเที่ยงตรงที่บ่งบอกได้ถึงความยุติธรรม ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน
พานรัฐธรรมนูญ หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวแทนของความเป็นประชาธิปไตยในราชอาณาจักรไทย
ลายไทย หมายถึง การบ่งบอกถึงความเป็นไทยที่มีความอ่อนช้อยและความงดงามที่มีระเบียบในตัวเอง
ริบบิ้นสีแดง หมายถึง การผูกความสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสีแดงนั้นยังหมายถึงชาติที่เป็นศูนย์กลางของความเป็นไทย

ความเป็นมาพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2549

ได้บัญญัติขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการพัฒนาระบบบริหารงานยุติธรรม อย่างมีบูรณาการ เป็นตัวกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานด้านกระบวนการยุติธรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี แต่สถานะดังกล่าวมีความไม่มั่นคง

ดังนั้น จึงได้กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานกรรมการ และราชการเป็นคณะกรรมการพร้อมทั้งมอบหมายให้สำนักงานกิจการยุติธรรมเป็นฝ่าย เลขานุการ

บทบาทของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

มีบทบาทสำคัญในการเป็นเวทีสะท้อนปัญหาและประสานความร่วมมือของหน่วยงานใน กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินงานด้านกระบวนการยุติธรรมในภาพรวมของประเทศ เพื่อให้การพัฒนากระบวนการยุติธรรมมีความเป็นเอกภาพ

พระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 บัญญัติขึ้นโดยวัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การบูรณาการและประสานความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานต่างๆ รวมถึงภาคประชาสังคมในภาพรวม ที่มีอยู่หลายองค์กร มีหน้าที่ความรับผิดชอบและภารกิจทางด้านงานยุติธรรมกระจัดกระจายอยู่ในความรับผิดชอบของต่างกระทรวงและกรม ซึ่งแต่ละองค์กรมีทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาที่แตกต่างกันออกไปตามภารกิจ โดยยังไม่มีองค์กรกลางรับผิดชอบในการประสาน สนับสนุน วางแผนและกำหนดทิศทางนโยบายให้ไปสู่จุดหมายเดียวกัน

ดาวน์โหลดเอกสาร พ.ร.บ.พัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติมีภารกิจหลัก ดังนี้

1.กำหนดนโยบายการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรม โดยจัดทำแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม

2.ประสานการบริหารงานยุติธรรมของหน่วยงานของรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน

3.ยุติธรรมเพื่อให้เกิดบูรณาการในภาพรวมที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและการพัฒนาประเทศ

4.กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารงานยุติธรรมของประเทศ

อำนาจหน้าที่

1.จัดทำแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการยุติธรรมแห่งชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

2.เสนอแนะให้ความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารงานยุติธรรมต่อคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งพิจารณาในประเด็นที่คณะรัฐมนตรีขอให้พิจารณา

3.ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องที่เป็นปัญหาอุปสรรค ร่วมถึงส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาระบบบริหารงานยุติธรรม ในภาพรวม

4.ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการวิจัยเพื่อหาแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการในการปรับปรุงและพัฒนาระบบบริหารงานยุติธรรม ตลอดจนกฎหมายให้มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน

5.ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบริหารยุติธรรม โดยวิธีการจัดประชุมสัมมนา ฝึกอบรมหรือเสนอแนะแนวทางให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 คณะอนุกรรมการ